การวาดภาพจากประสบการณ์ ความทรงจำ (Memories)
การส่ง เสริมการวาดภาพจากประสบการณ์และความทรงจำ ผู้เขียนมักจะใช้คำถามปลายเปิดที่ช่วยให้เด็กทบทวนความจำเกี่ยวกับราย ละเอียดของประสบการณ์ที่มีความหมายต่อเด็ก เช่น “ อะไรบ้างที่ช้างชอบกิน ?” “ขนของแมวให้ความรู้สึกอย่างไร?” ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ แล้วภาพที่ได้จะปรากฎรายละเอียดและความรู้สึกแทรกตัวอยู่อย่างมากมาย คำถามที่เพิ่มพูนความคิดและความรู้สึกเหล่านี้ ช่วยทำให้เกิดการสร้างความรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงด้วยตัวเอง ผู้เขียนจะไม่เปิดเผยในสิ่งที่เด็กรู้อยู่แล้ว หรือในบางกรณีเด็กจะสามารถเติมเต็มสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ด้วยจินตนาการของเขา เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กเขียนจำนวนนิ้วเท้าผิด ครูไม่ควรไปแก้งานของเด็ก ซึ่งต่อไปเด็กมีแนวโน้มที่จะนับนิ้วเท้าอย่างสนใจ ตอนที่เขาจะต้องวาดส่วนของเท้าของสิ่งชีวิตในโอกาสต่อไป ครูอาจจะถามว่า ”หนูชอบที่จะนับนิ้วเท้าเหมือนกับที่หนูวาดมันรึเปล่า?” ต่อไปเด็กจะสนใจการนับอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเขาต้องการที่จะแสดงความหลากหลายของจำนวนของนิ้วเท้า

 

บาง ครั้งครูก็อยู่ในเหตุการณ์ที่เด็กมีประสบการณ์ ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการวาดภาพครั้งต่อไป ผู้เขียนมักจะถามคำถามที่เกี่ยวกับการรับรู้หลายคำถาม เช่น” ตามีสีอะไร?” “มันจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราได้สัมผัสผิวของช้าง?” “ ถ้ามีเด็กบางคนนั่งอยู่บนหลังช้าง เค้าจะรู้สึกอย่างไร?”

เมื่อพวกเขาได้วาดภาพประสบการณ์ที่ผ่านมา พวกเขาจะมีอะไรให้คิดมากขึ้น เด็กจะไม่สามารถวาดในสิ่งที่เขาไม่ได้สังเกตเห็นในมาก่อน.
ผู้ เขียนจะไม่คาดหวังการวาดภาพที่เหมือนจริงจากความทรงจำ พวกเขาจะต้องบอกเล่าเรื่องราว แสดงออกถึงประสบการณ์ การวาดภาพเหมือนจะพัฒนาอย่างช้า ๆ จากพื้นฐานการฝึกการสังเกต เราไม่สามารถหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการเรียนรู้การสร้าง ภาพ

การเรียนรู้การถ่ายโยงอย่างระมัดระวัง

ถ้าเด็กได้รับการฝึกบางอย่างมาแล้วคล้ายกับการฝึกการสังเกต(ข้างต้น) ครูสามารถถามคำถามเพื่อช่วยให้เด็กทบทวนความจำว่า ได้เรียนรู้อะไรไปบ้างจากการฝึกการสังเกต ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในเนื้อหาด้านอื่น ๆ ได้ ถ้าพวกเขาจดจำบางสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครูควรที่จะทบทวนและให้รางวัลกับสิ่งนี้

นิสัยการคิดในการถ่ายโยงการ เรียนรู้จากเนื้อหาเรื่องหนึ่งไปเนื้อหาอีกเรื่องหนึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันเป็น ลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ในการที่จะสามารถคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าบุคคลอื่น ซึ่งบ่อยทีเดียว เด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือให้คิดที่จะใช้ความรู้และทักษะ นอกเหนือบทเรียนจากที่เขาได้เรียนมาตามปกติในชั้นเรียนนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าลักษณะนิสัยที่คิดสร้างสรรค์สามารถบำรุงเลี้ยงดูให้เกิด ขึ้นมาได้ เมื่อการเรียนรู้นิสัยของความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางการคิดแบบนี้เรียกว่า “ ความยืดหยุ่น” หรือเรียกอีกอย่างว่า “การมองเห็นความคล้ายคลึง” เรารู้ว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง จะมีลักษณะด้านนี้สูง ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นนิสัยด้านการคิดที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ ซึ่งพวกเราสามารถปลูกฝังได้ในเด็กเล็ก

 

การวาดภาพภาพจากจินตนาการ (Imagination)
ความ คิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติทางสมองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ ผู้เขียนจะส่งเสริมจินตนาการของคน เมื่อมีโอกาสอยู่เสมอ ครูจะไม่ควรพูดว่า” นี่คืออะไร” แต่จะพูดว่า “ โอ้! นี่ดูเหมาะเหม็ง คุณบอกเกี่ยวกับสิ่งนี้เพิ่มขึ้นให้หน่อยได้มั้ย?” แม้แต่ก่อนที่เราจะพูด เราสามารถบอกเล่าจินตนาการของเราด้วยภาพวาด ภาพเขียนและ งานประติมากรรมต่าง ๆ ในวิถีทางที่จะอธิบายรูปทรงทางความคิดของเรา แน่นอนว่าภาพวาดหลายภาพเกิดจากการผสมผสานกันจากการสังเกต ความจำ และจินตนาการไว้ในภาพเดียวกัน

แน่นอนว่าเด็กมีสัญชาตญาณของการลอก เลียนแบบ ซึ่งก็เหมือนกับวัยเด็กของทุก ๆ สิ่งมีชิวิต แต่ในมนุษย์เร็ว ๆ นี้พบว่า การเลียนแบบเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสแสร้งแกล้งทำ ครั้งหนึ่งการเสแสร้งเป็นความสนุกอย่างหนึ่ง สมองของมนุษย์ก็ยังใช้สัญชาตญาณในการให้ความบันเทิงตัวเองอย่างไม่สิ้นสุด ด้วยเกมส์ต่าง ๆ ของจินตนาการ สิ่งเหล่านี้พัฒนาทักษะในการเอาตัวรอดของเรา และกลายเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดที่สมองของมนุษย์ฉลาดขึ้น ด้วยจินตนาการของเรา เราได้เรียนรู้การทำนายสิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่เคยเห็นหรือเรียนรู้มาก่อน โดยการคิดประดิษฐ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เราสร้างสิ่งประดิษฐ์ เราพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และเรายังคงปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ และตลอดไป

การวาดภาพจาก จินตนาการของเราเองเป็นการฝึกลักษณะนิสัยและส่งผลต่อสมองที่ได้ผลมาก ผู้เขียนเชื่อว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความฉลาด เพราะมันเป็นการสร้างทักษะการรอดชีวิต และขยายช่วงวัยของความสนใจให้เด็ก และยังช่วยให้การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในอนาคตง่ายขึ้นด้วย ขณะที่วาดภาพจากจินตนาการบนกระดาษ เด็กได้พัฒนาและบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ซับซ้อนที่เด็กสังเกตเห็น และสามารถปรับแต่งแก้ไข ต่อเติมอย่างละเอียดลออ พูดถึงหรือคิดถึงเกี่ยวกับสิ่งนั้น ๆ และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การทำงานหลาย ๆ อย่างต้องการการวางแผนที่จำเป็นต้องใช้ทักษะการวางแผนด้วยจินตนาการ เมื่อสมองส่วนนี้ได้ถูกฝึกหรือใช้งานได้อย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก ผลที่ได้เมื่อเด็กเป็นผู้ใหญ่จะมีค่ามากจนเกินประมาณได้

 

สัญชาตญาณอื่น ๆ และสิ่งที่จำเป็นอื่นๆ
ผู้ เขียนได้สังเกตเห็นเด็กหลายคนใช้เวลาหลายชั่วโมงในการจัดการเส้นและลวดลาย ง่าย ๆ บนกระดาษ และลองนึกเหตุการณ์ของลูกชายตอนอายุ 3 ขวบ เมื่อเขายืนดูงานภาพวาดของเขาเกือบ ๆ ชั่วโมง ขณะเดียวกันค่อย ๆ เติมเส้นตั้งกับเส้นนอนอย่างระมัดระวัง เพื่อสร้างตารางจากสีฝุ่นที่ต่าง ๆ กัน 3 สี ผู้เขียนคิดว่าเราทั้งหลายต่างมีสัญชาติญาณในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็น ระเบียบ ในการสร้างระบบระเบียบต่าง ๆ ในงาน เราอาจจะกำลังกำหนดบางส่วนของสมองที่ต่อมาจะกลายเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์และ เรขาคณิตที่ดี เราอาจจะกำลังสร้างพื้นที่ของความฉลาด การพัฒนาสมองแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นเมื่อเด็กนั่งดูแต่ทีวี
เวลาอื่น ๆ ที่จะสำคัญมาก ๆ สำหรับเด็กในการสร้างความยุ่งเหยิงหรือในการเขียนบางอย่างที่มีพลัง หรือ แสดงความคับข้องใจบางอย่างออกมา อุปกรณ์ทางศิลปะ และกิจกรรมที่เราจัดให้เด็กหลาย ๆ อย่างช่วยด้านพัฒนาการของอารมณ์ที่ดีและสติปัญญา

อุปกรณ์อื่น ๆ
นอกจากกระดาษที่ไม่จำกัดและดินสอสีดี ๆ ผู้เขียนอยากเสนอให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายและหาได้ง่าย ๆ

มี วัสดุที่ใช้ทำงานปั้นสำหรับเด็กที่หลากหลาย เลือกวัสดุแต่อย่าให้อุปกรณ์ทุกอย่างที่ประกอบกันสำเร็จรูปที่มีขายในตลาด แก่เด็ก ควรกระตุ้นให้เด็กใช้นิ้วมือของตนเอง และใช้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานที่เกี่ยวกับงานปั้น พวกเขาสามารถปั้นสิ่งต่าง ๆ แบบเดียวกับที่เขาวาดได้ แต่ในการทำงาน3มิติ สมองของเด็กจะถูกพัฒนาในส่วนที่ต่างออกไป ผู้เขียนพบว่าในเด็กบางคนสามารถวาดภาพได้ดีมาก ๆ แต่ไม่สามารถปั้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ดีด้วยเช่นกัน เด็กบางคนสามารถปั้นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ไม่สามารถวาดภาพของสิ่งเดียวกันนั้นบนกระดาษได้ การจัดให้มีการฝึกฝนกิจกรรมทั้ง 2 อย่างตั้งแต่อายุ 2- 3 ขวบ การพัฒนาที่ขัดแย้งกัน หรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อพัฒนาการที่เหมาะสมก็จะน้อยลง

ผู้เขียนไม่เคยซื้อสมุด ภาพระบายสี หรือหนังสือกิจกรรมศิลปะที่ให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นความคิด(ไอเดีย) ของคนอื่น นอกเสียจากว่าเราต้องการให้เด็กกลายเป็นคนที่ต้องตามคนอื่นหรือเป็นทาสคน อื่น มันจะดีกว่ามากถ้าเด็กได้เรียนรู้การระบายสีด้วยเส้นของตัวเอง ผู้เขียนไม่เคยซื้อหนังสือประเภท ”How to draw” หนังสือเหล่านั้นสอนเทคนิคต่าง ๆ แต่ไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การสังเกตหรือใช้จินตนาการของตนเอง เราไม่ควรส่งเสริมการรับข้อมูลเกี่ยวกับ “How to Paint” ในทีวีหรือรายการใด ๆ ศิลปินที่สอนเหล่านั้นกำลังสร้างความไม่มั่นคงแก่เรา พวกเขาให้เคล็ดลับง่าย ๆ แต่ไม่มีสิ่งใดช่วยการเรียนรู้ด้านสมองแก่เรา พวกเขาช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเรียนรู้การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราอย่างแท้จริงหลีกเลี่ยงการใช้จินตนาการของเรา หรือละเลยการใช้ความทรงจำของเราเอง ในรายการทีวีช่วยในการบ่มเพาะจิตวิญญาณแบบผีดิบ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายมากที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งไม่สมควรต่าง ๆ เมื่อทีวี วีดีโอเกมส์ หรือเกมส์คอมพิวเตอร์ถูกกำจัดออกไป (อัน นี้เจ้าของบล็อคเองก็ดูนะคะ แต่เอาเป็นว่าถ้าเราจะให้เด็ฏดูก็ควรเป็นไปในลักษณธเอาเทคนิค วิธีการมาประยุกต์ใช้ แต่ไม่ใช่ลอกมาทั้งหมด สิ่งสำคัญคือต้องให้เด็ฏเข้าใจวิธ๊การถ่ายโยงความรู้มาใช้ในแบบของเราเองก็ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะคะ)

 

เรา ควรให้ของเล่นเด็กเช่น ตัวต่อของเล่นไม้ ซึ่งสามารถใช้เล่นได้หลากหลาย การเล่นบนทรายในพื้นที่กว้างเป็นสิ่งที่เหมาะต่อการเล่นกับจินตนาการมากๆ การประหยัดการซื้อเสื้อผ้า โดยนำเสื้อผ้าเก่าไปใช้เป็นเสื้อผ้าในการเล่นละคร เราควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่ซับซ้อน และไม่สามารถประยุกต์พลิกแพลงไปเล่นได้หลากหลาย หรือนำไปทำได้อย่างเดียว หลักการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมต่าง ๆ คือ แม้ว่าสมองหรือร่างกายจะพัฒนาและเติบโตไปอย่างไร ความสนุกสนานและความพึงพอใจเป็นสิ่งสำคัญเท่า ๆ กับแรงจูงใจ แต่ความสนุกก็เป็นความสำคัญอันดับที่สอง ถ้าความสนุกเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เราก็จะเลือกหลาย ๆ สิ่งที่สนุก และให้ความบันเทิง แต่ไม่ให้ผลต่อการเรียนรู้

ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pjan&date=10-01-2010&group=15&gblog=8