การวาดรูปสีน้ำทิวทัศน์

ต่อกันที่ภาพทิวทัศน์ครับ ยังคงเน้นให้มือใหม่ได้ฝึกกะปริมาณสีและน้ำเช่นเคย โดยในภาพนี้ ใช้สีเพียงสองสี คือม่วงอมน้ำเงิน และ yellow ochre เริ่มกันที่การร่างภาพก่อนเลยครับ

แบ่ง เส้นขอบฟ้าก่อนครับ(สีน้ำเงิน)ตามด้วยส่วนภูเขา(สีชมพู)วางเป็นเส้นคร่าวๆนะ ครับ อย่าพึ่งไปหยักหรือเก็บรายละเอียดตามเส้นขอบจะทำให้มันเบี้ยว ซึ่งถ้ามันเบี้ยวเล็กๆน้อยๆไม่เป็นไรอยู่แล้วครับ แต่อย่าให้มากเกินไปธรรมชาติค่อนข้างจะดัดหรือพลิกแพลงได้ค่อนข้างมาก
หลักคือดูภาพรวมครับ
วางตำแหน่งโขดหินด้านหน้าครับ(สีเหลือง) ตามด้วยตำแหน่งของต้นมะพร้าว(สีเขียว)
ขั้นตอนการร่างผมมักจะใช้ดินสอสีครับ โทนสีแดง สีฟ้า หรือบางทีดินสอดำก็มีบ้างถ้ามันอยู่ใกล้มือ แต่จะร่างให้เบาที่สุดให้งานสกปรกน้อยที่สุด

 

เก็บรายละเอียดให้เรียบร้อยก่อนลงสี อย่าคิดไปแก้โครงสร้างตอนที่ลงสีไปแล้ว เพราะจะแก้ได้ยาก เริ่ม ลงสีแรก ผมตั้งใจที่จะตัดรายละเอียดของเมฆออกไป ผสมสีรอไว้ในจานทั้งหมดสามโทน คือช่องแรกเป็นม่วงน้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน+yellow ochre และyellow ochre ใครเห็นว่าม่วงที่มีโทนจัดเกินไปจะผสมYellow ochre นิดๆก็ได้ครับ
ใส่น้ำพอประมาณ ไม่ข้นไม่จางเกินไป เป็นเพียงแค่การกะคร่าวๆนะครับ ทั้งปริมาณสีและน้ำ ภาพนี้อาจทดลองหลายแผ่นกว่าจะได้รูปที่ต้องการ พอสีทั้งสามพร้อมแล้ว
เอียงกระดานเล็กน้อย เริ่มลงตั้งแต่โทนเข้ม ม่วงน้ำเงิน ตรงนี้ใช้หลักของการระบายเรียบนะครับ คือพู่กันมีหน้าที่ดึงสีลงมาเท่านั้น ไม่ได้ถูหรือเกลี่ยโดนกระดาษมาก ซึ่งจะทำให้เป็นรอยด่าง พอถึงตรงส่วนที่เราต้องการเปลี่ยนสีแล้วให้จุ่มแล้วทาต่อไปได้เลย
หรือหากจะล้างพู่กัน ให้เช็ดพู่กันให้น้ำแห้งมากๆ จะได้ไม่ไปเจือจางสีที่เราผสมไว้ ระบายไล่สีให้อ่อนเรื่อยมาจนสุดพื้นที่ของท้องฟ้า

ก่อนลงมือบนแผ่นจริง ทดลองลงบนกระดาษแผ่นเล็กก่อนก็ได้ครับ เพื่อความแน่นอน

 

รอสีท้องฟ้าแห้ง ผสมสีทั้งสองเหมือนเดิม แต่คราวนี้ใส่น้ำน้อยกว่าตอนที่ทำท้องฟ้า ระบายลงไปเป็นภูเขาระยะไกล จะเห็นว่าตั้งแต่วาดมาตั้งแต่ต้น โทนสีไม่เหมือนต้นแบบเลย ในรูป เห็นเป็นสีดำๆ แต่ทำเป็นโทนออกน้ำตาล เหล่านี้เป็นเรื่องของเจตนาที่เราจะสื่อออกมา จะลด จะเพิ่ม หรือเปลี่ยนโทนสี ซึ่งเกิดจากการที่เราลงมือทำบ่อยๆดูผลงานของคนอื่นๆมากๆ
ภาพนี้ผมยังไม่อยากให้มือใหม่ใช้สีมากจนคุมไม่อยู่ และต้องการให้ฝึกควบคุมและเข้าใจสีน้ำให้มากขึ้น จึงใช้เพียงสองสี

 

ผสมสีเหมือนเดิมแต่น้ำน้อยกว่าขั้นตอนที่แล้ว ลงโขดหินในระยะหน้า

 

 

สุดท้ายเพิ่มต้นมะพร้าว เป็นอันจบงาน แต่ละขั้นตอนควรรอให้สีแห้งก่อนนะครับ นอกจากเราจะได้ฝึกผสมสีแล้ว ยังได้ฝึกวาดภาพให้มีระยะ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการวาดภาพทิวทัศน์ จะเห็นว่าในภาพไม่มีรายละเอียดอะไรเลย แต่เราใช้น้ำหนักของสีสร้างให้เกิดมิติ และมีความน่าสนใจมากขึ้น การใช้ภู่กันใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และประเภทของขนภู่กัน ทดลองดูหลายๆวิธีด้วยตนเองจะดีที่สุด